Welcome to Kruying2513 blog ยินดีต้อนรับสู่บลอก kruying2513 สร้างขึ้นเพื่อใช้เป็นสื่อและแหล่งเรียนรู้สำหรับผู้เรียน

วันอาทิตย์ที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2557

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน กิจกรรมแนะแนว

บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง         :    รายงานการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับ
                       นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนถาวรานุกูล  จังหวัดสมุทรสงคราม                        
ผู้รายงาน       :    นางธวัลรัตน์  ชัยคณาพิบูลย์
                     ครูชำนาญการ  โรงเรียนถาวรานุกูล  จังหวัดสมุทรสงคราม
ปีที่ทำการรายงาน :   พ.ศ.2556
                   รายงานการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1. เพื่อศึกษาผลของการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 โรงเรียนถาวรานุกูล จังหวัดสมุทรสงคราม 2. เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5  โรงเรียนถาวรานุกูล  จังหวัดสมุทรสงคราม และ 3.  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนถาวรานุกูล  จังหวัดสมุทรสงคราม  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 7 จำนวน 36  คน และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ห้อง 8 จำนวน  37  คน   โดยการเลือกแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive  Sampling) โดยกำหนดให้ชั้นมัธยมศึกษา        ปีที่ 5 ห้อง 7  เป็นกลุ่มควบคุม และชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 ห้อง 8  เป็นกลุ่มทดลอง  เครื่องมือที่ใช้   ในการศึกษาประกอบด้วย 1.ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์   จำนวน  16  กิจกรรม  2.แบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์  สำหรับวัยรุ่น (อายุ 12–17 ปี) ของกรมสุขภาพจิต  กระทรวงสาธารณสุข  และ 3. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเข้าร่วมกิจกรรม แนะแนวโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์
ผลการศึกษาพบว่า
          1.  การศึกษาผลการใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์สำหรับนักเรียน       ชั้นมัธยมศึกษาปีที่  5 พบว่า  คะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนที่เป็นกลุ่มทดลองหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์  มีคะแนน   การประเมินความฉลาดทางอารมณ์สูงขึ้นกว่าก่อนการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ชุดกิจกรรม แนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05 
          2.  การเปรียบเทียบคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ของนักเรียนก่อนและหลังการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ พบว่านักเรียนที่     เป็นกลุ่มทดลองมีคะแนนความฉลาดทางอารมณ์สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้ใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว  เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ  .05  
          3.  การศึกษาความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนวโดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนว    เพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์    พบว่านักเรียนมีความพึงพอใจต่อเข้าร่วมกิจกรรมแนะแนว     โดยใช้ชุดกิจกรรมแนะแนวเพื่อพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์อยู่ในระดับมาก 












Thesis  title  :  The  report  of  Using  guidance  activities   to  develop  emotional   
                     quotient  for  Matthayomsuksa  five  students, Thawaranukul  School, 
                     Samut Songkhram.
Researcher  :   Mrs.Thawanrat   Chaikanapiboon
Academic  year  :  2013
                                                Abstract
          The  purposes  of  Using  guidance  activities   to  develop  emotional   
quotient  for  Matthayomsuksa  five  students  were  to :  1)  study  the  result  of  using  guidance  activities   to  develop  emotional  quotient  for  Matthayomsuksa  five  students  2)  compare  the  student’s  emotional  quotient  score  before  and  after  using  guidance  activities  and 3)  study  the  student’s  opinions  toward  guidance  activities.
          The  sample  consisted  of  thirty-six  students  in  Matthayomsuksa  five  room  seven  as  control  group  and thirty-seven  students  in  Matthayomsuksa  five  room  eight  as  experimental  group  by  purposing  sampling.  The  instruments  use  for  study  were 1) sixteen  guidance  activities  2)  evaluation  form  of  emotional  quotient  for  teenagers (12 – 17 years  old), Department  of  Mental  Health, Ministry  of  health and 3) a  questionnaire  surveying  students’  opinions  on  participating  guidance  activities.

          The  result  of  the  study  were 1)  the  experimental  group  students’  emotional  quotient  scores  after  the  work  participation in  guidance  activities  were  significantly  higher  than  those  before  at  the  level of .05  2)  the  experimental  group  students’  emotional  quotient  scores  were  significantly  higher  than  the  control  group  students  at  the  level of .05  3)  the  students’  positive  opinions  toward  guidance  activities  were  high.